Schedule: เปิดบริการ 24 ชั่วโมง
076 298 298, 076 609 050
ความรู้เกี่ยวกับสุภภาพ

การฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า

การฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า

1. ข้อมูลเบื้องต้น

โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดต่อจากสัตว์มาสู่คนที่มีอันตรายร้ายแรงที่สุด พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด สุนัขยังคงเป็นสัตว์นาโรคที่สาคัญที่สุดในประเทศไทย ในปีหนึ่งๆ มีคนถูกสุนัขกัดในประเทศไทยมากกว่า 1 ล้านคน ส่วนหนึ่งของคนที่ถูกกัดจะมารับบริการดูแลรักษาที่สถานบริการสาธารณสุข การตัดสินใจให้วัคซีนและ/หรือ อิมมูโนโกลบุลิน ป้องกันพิษสุนัขบ้าเป็นสิ่งสาคัญ เพราะถ้าหากผู้ป่วยสัมผัสโรคนี้ได้รับการดูแลรักษาไม่ถูกต้องทาให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้

การบริการดูแลรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าเป็นเรื่องละเอียดอ่อนแพทย์ต้องพิจารณาและวินิจฉัยในการสัมผัส ประวัติของสัตว์ที่สัมผัส สาเหตุที่ถูกสัตว์กัด ก่อนที่จะให้การรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม บาดแผลที่อยู่ตาแหน่งที่สาคัญ เช่น ใบหน้า ต้องการความรวดเร็วในการรักษาด้วย มิฉะนั้นอาจไม่ทันต่อการหยุดยั้งโรค นอกจากแพทย์ผู้ให้การรักษาจะต้องรักษาอย่างรอบคอบแล้ว ระบบการเตรียมเวชภัณฑ์วัคซีน และอิมมูโนโกลบุลิน ต้องมีความพร้อมที่จะให้บริการ หรือรู้แหล่งที่จะขอยืมมาใช้ก่อน นับว่าเป็นสิ่งจาเป็นที่จะปกป้องชีวิตคนไข้

การดูแลรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าหรือสงสัยว่าสัมผัส

การสัมผัส หมายถึง การถูกกัด ข่วน หรือน้าลายกระเด็นเข้าบาดแผลหรือผิวหนังที่มีรอยถลอก หรือถูกเลีย จมูก ตา หรือกินอาหารดิบที่ปรุงจากสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า

ผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า หมายถึง ผู้ที่สัมผัสกับสัตว์หรือผู้ป่วยที่ได้รับการพิสูจน์หรือสงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้า รวมถึงกรณีที่สัตว์หนีหาย และสัตว์ไม่ทราบประวัติ

การวินิจฉัยภาวะเสี่ยงจากการสัมผัส

หากผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้ามีบาดแผล ต้องรีบปฐมพยาบาลแผลทันทีก่อนดาเนินการขั้นอื่นๆ ต่อไป

ประวัติของการสัมผัส ใช้แบบฟอร์มการซักประวัติผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า ระดับความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งแยกได้เป็น 3 กลุ่ม ตามลักษณะสัมผัส ดังนี้

ระดับความเสี่ยง ลักษณะการสัมผัส การปฏิบัติ
กลุ่มที่ 1
การสัมผัสที่ไม่ติดโรค
– การถูกต้องตัวสัตว์ ป้อนน้า ป้อนอาหาร ผิวหนังไม่มีแผลหรือรอยถลอก
– ถูกเลีย สัมผัสน้าลายหรือเลือดสัตว์ ผิวหนังไม่มีแผลหรือรอยถลอก
– ล้างบริเวณสัมผัส
– ไม่ต้องฉีดวัคซีน
กลุ่มที่ 2
การสัมผัส ที่มีโอกาสติดโรค
– ถูกงับเป็นรอยช้าที่ผิวหนัง ไม่มีเลือดออก หรือเลือดออกซิบๆ
– ถูกข่วนที่ผิวหนังเป็นรอยถลอก (Abrasion) มีเลือดออกซิบๆ
– ถูกเลียโดยที่น้าลายถูกผิวหนังที่มีแผลหรือรอยถลอกหรือรอยขีดข่วน
– ล้างและรักษาแผล
– ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies vaccine)
กลุ่มที่ 3
การสัมผัสที่มีโอกาสติดโรคสูง
– ถูกกัดโดยฟันแทงทะลุผ่านผิวหนังแผลเดียวหรือหลายแผลและมีเลือดออก (Laceration)
– ถูกข่วน จนผิวหนังขาดและมีเลือดออก
– ถูกเลีย หรือน้าลาย สิ่งคัดหลั่งถูกเยื่อบุของตา ปาก จมูกหรือแผล แผลที่มีเลือดออก
– มีแผลที่หลังและสารคัดหลั่งจากร่างกายสัตว์ ซากสัตว์ เนื้อสมองสัตว์รวมถึงการชาแหละซากสัตว์ และลอกหนังสัตว์
– กินอาหารดิบที่ปรุงจากสัตว์/ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า
– ล้างและรักษาแผล
– ฉีดวัคซีนและอิมมูโนโกลบุลิน (Rabies vaccine และ RIG โดยเร็วที่สุด)

วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ใช้ในประเทศไทยปัจจุบัน

  1. Human Diploid Call Rabies Vaccine (HDCV) ผลิตจากประเทศฝรั่งเศส มีลักษณะเป็นผงแห้งพร้อม Sterile water for injection เมื่อละลายแล้วเป็นน้าใสสีชมพู ขนาด 1 ml.
  2. Purified Chick Embryo cell Rabies Vaccine (PCECV) ผลิตจากประเทศเยอรมัน และอินเดีย มีลักษณะเป็นผงแห้งพร้อม Sterile water for injection เมื่อละลายแล้วเป็นน้าใสไม่มีสีขนาด 1 ml.
  3. Purified Vero Cell Rabies Vaccine (PVRV หรือ VERORAB) ผลิตจากประเทศฝรั่งเศสมีลักษณะเป็นผงแห้งพร้อมน้ายาละลาย (Solution of sodium chloride 0.4% )เมื่อละลายแล้วเป็นน้าใสไม่มีสีขนาด 0.5 ml.
  4. Purified Duck Embryo cell Rabies Vaccine (PDEV) ผลิตจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีลักษณะเป็นผงแห้งพร้อมน้ายาละลาย Sterile water for injection 1 ml. เมื่อละลายแล้ว จะเป็นสารแขวนตะกอนสีขาวขุ่นเล็กน้อย เนื่องจากมีสารThiomersal ซึ่งเป็นสารถนอมผสมอยู่

วิธีการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า

1.การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular) ,IM)

  • ฉีดวัคซีน HDC, PCECV, PDEV 1 ml. หรือ PVRV 0.5 ml.เ ข้ากล้ามเนื้อต้นแขน (Deltoid) หรือถ้าเป็นเด็กเล็กฉีดเข้ากล้ามเนื้อหน้าขาด้านนอก (Anterolateral)
  • ห้ามฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะโพก เพราะวัคซีนจะดูดซึมเข้า ทาให้กระตุ้นภูมิคุ้มกันไม่ดี
  • ฉีดวัคซีนครั้งละ 1 โด๊ส ในวันที่ 0, 3, 7, 14 และ 30
    วิธีการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า

2. การฉีดเข้าผิวหนัง (Intradermal, ID) ใช้ได้กับวัคซีน PVRV, PCECV หรือ HDCV

  • เทคนิคการฉีดวัคซีนเข้าผิวหนัง
    แทงเข็มให้ปลายเข็มเงยขึ้นเกือบขนานกับผิวหนัง แล้วค่อยๆ ฉีดเข้าในชั้นตื้นสุดของผิวหนัง (จะรู้สึกมีแรงต้านและตุ่มนูนปรากฏขึ้นทันที มีลักษณะคล้ายเปลือกผิวส้ม)
  • การฉีดแบบ 2-2-2-0-1-1
    – ใช้ได้กับวัคซีน PVRV, PCED และ HDCV
    – ฉีดวัคซีนจุดละ 0.1 ml. โดยฉีดวัคซีนเข้าในผิวหนังบริเวณต้นแขนซ้ายและขวาข้างละ 1 จุด ในวันที่ 0, 3, 7 และฉีดที่ต้นแขน 1 จุด ในวันที่ 30 และ 90การฉีดเข้าผิวหนัง
  • การฉีดแบบ 2-2-2-0-2
    – ฉัดวัคซีน จุดละ 0.1 ml. โดยฉีดวัคซีนเข้าในผิวหนัง บริเวณต้นแขนซ้าย และขวาข้างละ 1 จุด ในวันที่ 0, 3, 7 และ30การฉีดแบบ 2-2-2-0-2

2). ทางเลือกในการรักษา

2.1. การสัมผัสที่ไม่ติดเชื้อ คือ การถูกต้องสัตว์ สัมผัสน้าลายหรือเลือดสัตว์ โดยผิวหนังผู้สัมผัสไม่มีแผลหรือรอยถลอก ไม่ต้องฉีดวัคซีนหรือสังเกตอาการของสัตว์

2.2. การสัมผัสที่มีโอกาสติดเชื้อ คือ การที่น้าลายหรือสารคัดหลั่งของสัตว์สัมผัสกับรอยถลอกของผิวหนังหรือรอยข่วน แผลเยื่อ เมือกหรือถูกกัดโดยฟันสัตว์ทะลุผิวหนัง ให้พิจารณาปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • 2.2.1 กรณีที่ต้องฉีดวัคซีนจนครบ จากการสัมผัสที่มีโอกาสติดเชื้อในลักษณะต่างๆ ดังนี้
    • สุนัขหรือแมวที่มีอาการผิดปกติ หรือมีนิสัยเปลี่ยนไป เช่น ไม่เคยกัดใคร แต่เปลี่ยนนิสัยเป็นดุร้ายหรือกัดเจ้าของ หรือ คนอื่น หรืออาจมีอาการเซื่องซึม
    • สัตว์จรจัด สัตว์ป่า ค้างคาว สุนัขหรือแมวที่กัดแล้วหนีหายไป หรือผู้ที่ถูกกัดจาสัตว์ที่กัดไม่ได้
    • สัตว์ที่มีผลการตรวจสมองโดย Fluorescent rabies antibody test (FAT) ให้ผลบวก
    • สัตว์ที่มีผลการตรวจสมองโดย Fluorescent rabies antibody test (FAT) ให้ผลลบ แต่มีความผิดปกติ หรือสัตว์หายและถูกกัดบาดแผลฉกรรจ์
  • 2.2.2 กรณีที่ควรให้ฉีดวัคซีน และกักขังสุนัขและแมวไว้สังเกตอาการ 10 วัน ถ้าสุนัข และแมวปกติ จึงหยุดฉีดวัคซีน
    • การทาร้ายหรือกัดที่รุนแรง ซึ่งมีโอกาสสัมผัสกับน้าลายของสัตว์มาก (ได้แก่ ผู้ที่ถูกกัดเป็นแผลบริเวณใบหน้า ศีรษะ คอ มือ หรือแผลลึก แผลฉีกขาดมาก หรือถูกกัดหลายแผล) โดยสัตว์ที่ไม่มีลักษณะให้สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้าในขณะนั้น
  • 2.2.3 กรณีที่ไม่ฉีดวัคซีน แต่กักขังสุนัขและแมวไว้สังเกตอาการ 10 วัน ถ้าสุนัขและแมวเกิดอาการผิดปกติ ให้เริ่มฉีด วัคซีนทันทีและควรส่งหัวสุนัขและแมวตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วย
    • การถูกกัดโดยมีเหตุโน้มนา โดยสัตว์ที่เป็นปกติ
    • ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี ถูกกักขังบริเวณทาให้ไม่มีโอกาสสัมผัสสัตว์อื่นที่อาจเป็นโรคพิษสุนัขบ้า
    • ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันสุนัขบ้าทุกปี ฉีดมาแล้วอย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งหลังสุดไม่เกิน 1 ปี
  • 2. 2.4 กรณีดังต่อไปนี้ไม่ต้องฉีด Rabies immunoglobulin (RIG) คือ
    • ผู้สัมผัสที่เคยได้รับวัคซีน HDCV, PCECV, PVRV, PDEV, Rabies vaccine มาก่อนอย่างน้อย 3 ครั้ง
    • ผู้สัมผัสที่ได้รับการฉีด Rabies vaccine มาแล้วเกิน 7 วัน เพราะ RIG จะกดการสร้างภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีน

การให้วัคซีนและอิมมูโนโกลบุลินหลังสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า

3). ความเสี่ยงและผลข้างเคียงของการตรวจรักษา

  1. ขณะนี้ยังไม่มีการรายงานการแพ้วัคซีนรุนแรง อาจพบมีปฏิกิริยาบริเวณที่ฉีดวัคซีน เช่น ปวด แดง ร้อน คัน หรือ พบปฏิกิริยาทั่วไป เช่น ไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย มักจะหายเองเมื่อให้การรักษาตามอาการ
  2. กรณีที่ได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นบ่อยๆ อาจพบว่ามี Serum sickness หรือลมพิษ แต่มักไม่รุนแรง
  3. ผู้มีประวัติแพ้ยาปฏิชีวนะ หรือแพ้โปรตีนจากไข่ หรือสัตว์ปีก และผู้ที่เคยได้รับซีรั่มม้ามาก่อน เช่น เคยได้รับเอนติซีรั่มบาดทะยัก คอตีบ พิษสุนัขบ้า หรือเซรั่มพิษงู ให้ฉีดวัคซีนและอิมมูโนโกลบุลินด้วยความระมัดระวัง ต้องเฝ้าระวังอาการแพ้หลังฉีด RIG อย่างน้อย 1 ชั่วโมง

4). การปฏิบัติตัวและข้อพิจารณาก่อน – หลังเข้ารับการรักษา
ข้อพิจารณาในการฉีดวัคซีน

  • กรณีผู้สัมผัสโรคไม่มาตามกาหนดวันนัดหมาย เช่น อาจมาคลาดเคลื่อนไปบ้าง 2-3 วัน ให้ฉีดวัคซีนต่อเนื่องต่อเนื่องต่อไปโดยไม่ต้องฉีดวัคซีนใหม่
  • การฉีดวัคซีนในเด็กและผู้ใหญ่ให้ใช้ขนาดเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าในผิวหนัง
  • หญิงมีครรภ์ไม่มีข้อห้ามในการฉีดวัคซีน และ อิมมูโนโกลบุลิน เนื่องจากเป็นวัคซีนเชื้อตาย
  • กรณีผู้ติดเชื้อ HIV ผู้ป่วยโรคเอดส์ หรือภาวะภูมิคุ้มกันเสื่อม หรือกาลังได้รับยากดภูมิคุ้มกันให้ยึดหลักปฏิบัติตามปกติ ให้ฉีดวัคซีนเข้ากล้ามร่วมกับ อิมมูโนโกลบุลิน ทุกกรณี
  • วัคซีนที่ใช้อยู่ในประเทศไทยขณะนี้ มีคุณภาพประสิทธิภาพและความปลอดภัยใกล้เคียงกัน ในการฉีดเข้ากล้ามเนื้อสามารถใช้ทดแทนกันได้ หากหาวัคซีนชนิดที่ใช้อยู่เดิมไม่ได้
  • การนับวันในการฉีด
    – วันที่ 0 หมายถึง วันแรก ที่ได้รับการฉีดวัคซีน
    – วันที่ 3, 7, 14, 30 หมายถึง วันที่ 3, 7, 14, 30 นับจากวันที่ได้รับการฉีดวัคซีน
  • ในกรณีที่ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือในผิวหนัง ให้ฉีดวิธีเดียวกันตลอดจนครบชุดไม่ควรสลับวิธีฉีดเข้ากล้ามบ้าง เข้าผิวหนังบ้าง
  • ถ้าสุนัขหรือแมวมีอาการผิดปกติ หรือตายภายในเวลา 10 วัน ให้นาหัวสุนัขหรือแมวไปตรวจที่หน่วยงานชันสูตรโรคพิษสุนัขบ้า
  • สุนัขและแมวที่มีอาการน่าสงสัย แต่มีประวัติฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแน่นอนมาแล้วอย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งหลังสุดไม่เกิน 1 ปี หลังจากสังเกตอาการ 10 วัน ถ้าสุนัขและแมวนั้นยังอยู่ ให้หยุดฉีดวัคซีนได้
  • สุนัขและแมวหลังกัดหนีหายไม่สามารถติดตามดูอาการได้ ต้องฉีดวัคซีนตามแนวทางการรักษาให้ครบถ้วน
  • เนื่องจากส่วนใหญ่ระยะฟักตัวของโรคพิษสุนัขบ้าใช้เวลาไม่เกิน 1 ปี เมื่อมีผู้สัมผัสโรคมารับบริการหลังสัมผัสในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ให้พิจารณาเช่นเดียวกับสัมผัสโรคใหม่ๆ ในกรณีที่มารับการรักษาหลังสัมผัสโรคเกิน 1 ปี ให้พิจารณาเป็นรายๆ ไป
  • สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สงสัยเป็นโรคพิษสุนัขบ้า แม้ว่าจะไม่ใช่สุนัขและแมว ควรส่งหัวตรวจทุกรายเช่นกัน เพื่อให้ประโยชน์ในการรักษาป้องกัน และเฝ้าระวังโรค

การปฏิบัติต่อผู้สัมผัสโรคที่เคยได้รับการฉีดวัคซีนมาก่อน

  1. สาหรับผู้สัมผัสที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนครอบคลุมถึง
    • ผู้ที่เคยได้รับวัคซีนหลังสัมผัสโรคครบชุด หรืออย่างน้อย 3 ครั้ง
    • ผู้ที่เคยได้รับวัคซีนป้องกันล่วงหน้าครบ 3 ครั้ง ให้ปฏิบัติและฉีดวัคซีนตามตาราง

    ตารางการให้วัคซีนผู้สัมผัสโรคที่เคยได้รับการฉีดวัคซีนมาก่อน (การฉีดกระตุ้น)

    ระยะเวลาตั้งแต่ได้รับวัคซีนครั้งสุดท้ายจนถึงวันที่สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าครั้งนี้ การฉีดวัคซีน
    สัมผัสโรคภายใน 6 เดือน ให้ฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ ครั้งเดียวในวันแรกหรือ ผิวหนัง 1 จุด ในขนาด 1ml. ครั้งเดียวในวันแรก
    สัมผัสโรคหลังจาก 6 เดือน ขึ้นไป ให้ฉีด 2 ครั้ง ในวันที่ 0 และ 3 แบบเข้ากล้ามเนื้อหรือในผิวหนัง ครั้งละ 1 จุด ในขนาด 1 ml.
  2. ผู้สัมผัสที่เคยได้รับวัคซีนที่มีคุณภาพมาไม่ครบ 3 ครั้ง หรือฉีดวัคซีนสมองสัตว์ครบชุดให้ปฏิบัติเหมือนผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน

การฉีดป้องกันโรคล่วงหน้า (Pre-exposure immunization)

ผู้ที่มีโอกาสสัมผัสเชื้อพิษสุนัขบ้า เช่น สัตวแพทย์ ผู้ทางานในห้องปฏิบัติการ หรือเดินทางเข้าไปในถิ่นที่มีโรคพิษสุนัขบ้าชุกชุม ควรได้รับการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าและฉีดกระตุ้นซ้าเมื่อสัมผัสโรค

– ฉีดวัคซีน HDCV, PCECV หรือ PDEV ใช้ปริมาณ 1ml. หรือถ้าฉีดวัคซีน PVRV ใช้ปริมาณ 0.5 ml. เข้ากล้ามเนื้อ (IM) 1เข็ม หรือขนาด 0.1ml. 1 จุดเข้าในผิวหนัง (ID) บริเวณต้นแขน (Deltoid) ในวันที่ 0, 7 และ 21 หรือ 28

การฉีดป้องกันโรคล่วงหน้า

– ผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันหลังสัมผัสโรคมาแล้ว 3 ครั้ง เช่น ได้รับการฉีดในวันที่ 0, 3, 7 และสังเกตอาการสุนัขหรือแมวที่กัดพบว่ามีอาการผิดปกติภายหลัง 10 วัน ให้หยุดฉีดวัคซีน โดยให้ถือว่าการฉีดดังกล่าวเป็นการฉีดป้องกันล่วงหน้าเช่นกัน
– ควรมีบัตร หรือสมุดบันทึกการฉีดวัคซีน

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์

ทุกปัญหาด้านสุขภาพเราช่วยคุณได้...กรุณาอย่าลังเลที่จะปรึกษาทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของเรา