Schedule: เปิดบริการ 24 ชั่วโมง
076 298 298, 076 609 050
ลดหวาน ลดโรค ทำได้อย่างไร ?

ลดหวาน ลดโรค ทำได้อย่างไร ?

ทานอาหารหวาน มานาน รู้สึกติด เลิกยาก ถ้าไม่ได้ทานจะรู้สึกหงุดอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ทำอย่างไร ดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ หรือ ชา เครื่องดื่มสมุนไพร ไม่ใส่น้ำตาล ดื่มอย่างน้อย 8 แก้ว/วัน ช่วยกำจัดของเสีย ให้ความชุ่มชื้นกับ เซล ค่อยๆลดน้ำตาลลงทีละนิดเพื่อให้ลิ้นปรับสภาพ บ้วนปาก /แปลงฟันทุกครั้งหลังทานอาหาร ทาน ผักผลไม้แทนของหวาน น้ำตาลฟรุกโทส กลูโคส ทำให้รู้สึกสดชื่น มีเกลือแร่ วิตามิน ไฟเบอร์ทำให้อยู่ท้อง อิ่มนาน ลดความหิวและทานแป้งได้น้อยลง อ่านฉลากทุกครั้ง น้ำตาล น้ำผึ้ง คอรนไซรับ เมเปิลไซรับ แลคโตส กลูโคส ซูโคส เด็กโตส ทานอาหาร 3 มื้อให้ตรงเวลา ลดการทาน แป้งและคาร์โบไฮเดรต เพิ่มสัดส่วน ผักและโปรตีน เก็บของหวานไว้ไกลตัว ไม่ควรซื้อมาเก็บไว้ในบ้าน เวลา ทานอาหารหวานภายใน 30 นาทีหลังออกกำลังกาย ช่วงนี้ร่างกายจะย่อยน้ำตาลได้ดีที่สุด ทานโปรตีนช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ […]

อ่านรายละเอียด
นอนอย่างไรให้เพียงพอ

นอนอย่างไรให้เพียงพอ

Q: การนอนสำคัญอย่างไรกับร่างกายมนุษย์ A: เพราะกว่า 1 ใน 3 ของชีวิตคนเราคือความจำเป็นในการพักผ่อน ในเวลา 24 ชั่วโมงของ 1 วัน สุขภาพคนเราจะดีได้ ต้องมีการนอนหลับให้เพียงพอไม่น้อยกว่า 7 – 8 ชั่วโมง แถมการนอนที่มีคุณภาพ นั่นไม่เพียงแค่หลับเฉยๆ แต่ยังรวมไปถึงการหลับที่สมบูรณ์ ที่จะช่วยให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งการจะนอนหลับเพื่อให้มีสุขภาพที่ดีได้นั้น นอกจากจะเกิดจากปัจจัยในร่างกายแล้ว ยังต้องรวมไปถึงองค์ประกอบทั้งศาสตร์และศิลป์ในการดูแลสภาพแวดล้อมในห้องนอนอีกด้วย การนอนที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายจะส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพดีทั้งในแง่ของการฟื้นฟูพละกำลัง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยให้ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ โดยเฉพาะในเรื่องการทำงานของฮอร์โมนที่จะควบคุมการทำงานของร่างกาย และยังช่วยในแง่ของการเผาผลาญพลังงานที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยของการมีสรีระที่สวยงามตามธรรมชาติ การเจริญเติบโตตามวัย ตลอดจนยังช่วยให้สมองปลอดโปร่ง สามารถเรียนรู้และจดจำสิ่งต่างๆ ได้อย่างแม่นยำอีกด้วย เพราะความจำในส่วนของทักษะเช่น การวาดรูป เล่นกีฬา การคำนวณ การเล่นดนตรีหลังจากที่เราเรียนมาความจำเหล่านี้จะถูกบันทึกไว้ในสมองในขณะที่เราหลับลึก ส่วนการพักผ่อนไม่เพียงพอจะส่งผลให้สุขภาพร่างกายอ่อนแอ,เจ็บป่วยง่าย, อ้วนง่ายขึ้น, สมรรถภาพทางเพศลดลง การทำงานของสมองและความสามารถในการตัดสินใจลดลง Q: นอนกี่ ชม. ถึงจะถือว่าเป็นการอดนอนทางการแพทย์ A: ในทางการแพทย์จะแบ่งการอดนอน ออกเป็น 2 ประเภ? […]

อ่านรายละเอียด
โรคไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza)

โรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ มีการระบาดเป็นครั้งคราวเกิดได้ทุกเพศ ทุกวัย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โรคนี้มักมีอาการรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา และมีโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนได้มากกว่า สาเหตุ – เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) ซึ่งอยู่ในน้ำมูกและเสมหะของผู้ป่วย ระยะฟักตัว ประมาณ 1-3 วัน การติดต่อ – การติดต่อเกิดขึ้นได้ง่าย ระหว่างผู้ใกล้ชิดที่อยู่ในสถานที่แออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก เช่น โรงมหรสพ ห้างสรรพสินค้า สวนสนุก รถโดยสาร และอาคารบ้านเรือนที่มีอากาศถ่ายเทไม่สะดวก ไข้หวัดใหญ่ ติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งโดยตรงจากการหายใจเอาเชื้อไวรัสในฝอยละอองน้ำมูก น้ำลาย ที่ฟุ้งกระจายใน อากาศจากการไอ จามรดกัน เข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุจมูกและปาก หรือติดต่อทางอ้อมโดยเชื้อไวรัสอาจติดมากับ มือ ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ฯลฯ ที่ปนเปื้อน น้ำมูก น้ำลาย เสมหะของผู้ป่วยแล้วสัมผัสถูกตาหรือจมูก ไข้หวัดใหญ่ สามารถแพร่เชื้อจากคนหนึ่งสู่คนหนึ่งได้มากช่วง 3 – 7 วัน หลังจากเริ่มมีอาการ อาการ – หลังจากได้รับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เข้าสู่ร่างกายประมาณ 1 […]

อ่านรายละเอียด

โรคเบาหวาน ที่ไม่หวานสมชื่อ

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพอื่นๆ มากมายทั้ง ฟันและเหงือก ตา ไต หัวใจ หลอดเลือดแดง ทุกคนจึงควรป้องกันตนเอง เพื่อไม่ให้เกิดโรคเบาหวาน แต่หากใครไม่สามารถป้องกันตนเองได้หรือเป็นตามกรรมพันธุ์ ก็ควรที่จะควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม เพื่อที่จะได้อยู่กับโรคเบาหวานได้อย่างมีความสุข โรคเบาหวานคืออะไร โรคเบาหวาน คือ ภาวะที่มีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงตั้งแต่ 126 มก./ดล. (โดยวัดได้จากตอนหลังงดอาหาร 8 ชั่วโมง) เนื่องจากการขาดอินซูลินหรือดื้อต่อฤทธิ์ของอินซูลิน ทำให้ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญน้ำตาลไปใช้ได้หมด จึงเหลือน้ำตาลตกค้างในกระแสเลือดมาก ซึ่งหากเกิดขึ้นเป็นประจำจะทำให้เป็นโรคเบาหวาน และในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ทำลายระบบประสาทส่วนปลาย และนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงต่างๆ ได้ โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท เบาหวานประเภทที่ 1 พบได้น้อย ประมาณร้อยละ 5 ของผู้ป่วยเบาหวานไทย ประเภทนี้เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ จึงต้องฉีดอินซูลินอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดอินซูลิน และไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนเกิดไป เพราะอาจหมดสติ และเสียชีวิตได้อย่างเฉียบพลัน มักพบในเด็กและวัยรุ่น เบาหวานประเภทที่ 2 พบได้มาก ประมาณร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเบาหวานไทย และส่วนใหญ่จะเป็นในกลุ่มคนอายุ […]

อ่านรายละเอียด

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์

ทุกปัญหาด้านสุขภาพเราช่วยคุณได้...กรุณาอย่าลังเลที่จะปรึกษาทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของเรา